การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน
คงไม่มีใครทราบได้
แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายาย ของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็น ปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้ เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา |
การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรม
ที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษา วัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น |
การละเล่นของเด็กแบบไทย
ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
|
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร
การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ
ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า |
“..ใครจักมักเล่น
เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน
เลื่อน...” ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะ ลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...” ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึง การละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคย ดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและ ปลาลงอวน ในบทที่ว่า “เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉม ตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุก ในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้ สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดน เจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา ในเรื่อง “อิเหนา” วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น
เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่ บ้างรำอย่างชวามลายู เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี” หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า “...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน” |
ประเภทของการละเล่น
|
เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมาย
จนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่ง คร่าว ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลาง แจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยัง แบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มี บทร้องประกอบ |
การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่
โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง
ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดด เชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้ ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษ ฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง.... และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ |
เด็กแต่ละภาคเล่นเหมือนกันหรือไม่
|
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทั้งในด้านภาษา
วัฒนธรรม
ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่าง กันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ |
ความแตกต่างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น
|
การละเล่นซึ่งมีบทร้องประกอบ
บางอย่าง
มีลักษณะคล้ายกันหรือเหมือน ๆ กัน แต่บทร้อง จะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความ ซึ่งเด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจ้ำจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จ้ำมู่มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจ้ำจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น เกือบทุกคนคือ
“จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรือออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้”
ปะเปิ้มใบพลูของเด็กเหนือ
เป็นการละเล่นเพื่อเสี่ยงทาย เลือกข้าง
ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้นคนละมือ คนหนึ่งในวงจะร้องว่า
“ปะเปิ้มใบพลู
คนใดมาจู เอากูออกก่อน”
หรือ “จำปุ่นจำปู ปั๋วใครมาดู เอากูออกก่อน” หรือ “จ้ำจี้จ้ำอวด ลูกมึงไปบวช สึกออกมาเฝียะอีหล้าท้องป่อง”
จ้ำมู่มี่ของเด็กอีสาน
เล่นทำนองเดียวกับจ้ำจี้ของภาคกลาง
แต่ถ้าคำสุดท้ายไปตก
ที่ผู้ใดผู้นั้นต้องเป็นคนปิดตานับหนึ่งถึงยี่สิบ แล้วคนอื่นไปซ่อน เป็นการผนวกการละเล่น ซ่อนหาเข้ามาด้วย บทร้องจ้ำมู่มี่มีทั้งสั้นและยาว อย่างสั้นคือ “จ้ำมู่มี่ มูหมก มูมน หักขาคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้า ผีพราย หน้าหยิบ หน้าหย่อม ผอมแปํะ อย่างยาว คือ “จ้ำมู่มี่ มูมน หักคอคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าจิ๊ก หน้าก่อ หน้าหย่อมแยะ แม่ตอและ ตอหาง ตอไก่ แล้วไปฝึก ไปฟัน ให้เวียงจันทน์ คือแหวนข้างซ้ายย้ายออกตอกสิ่ว ลิวเปี๊ยะ ฉี่ไก่เปี๊ยะ ติดหางนกจอก แม่มันบอก ไก่น้อยออกซะ
การละเล่นจุ้มจี้ของเด็กภาคใต้
ก็เพื่อจะเล่นซ่อนหาเช่นกัน โดยคนที่เหลือเป็นคน
สุดท้ายจากการละเล่นจุ้มจี้ จะเป็นผู้ผิดตาหาเพื่อน ๆ เพลงที่ร้องประกอบมีหลายบท แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น จะยกตัวอย่างมา 2 บทดังนี้
“จุ้มจี้จุ้มปุด
จุ้มแม่สีพุด จุ้มใบหร้าหร้า พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบ
พุ้งพิ้งลงไป ว่ายน้ำตุกติก”
“จุ้มจี้จุมจวด
จุ้มหนวดแมงวัน แมงภู่จับจันทน์แมงวันจับผลุ้ง
ฉีกใบตองมารองข้าวแขก น้ำเต้าแตกแหกดังโผลง ช้างเข้าโรง อีโมงเฉ้ง แม่ไก่ฟักร้องก๊อกก๊อก ทิ่มคางคก ยกออกยกออก” |
อุปกรณ์การละเล่นของแต่ละท้องถิ่น
|
ในแต่ละท้องถิ่น
เด็ก ๆ จะคิดประดิษฐ์
อุปกรณ์ประกอบการละเล่นหรือทำของเล่น ขึ้นมาเอง โดยนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติหา ได้ใกล้ตัวมาใช้ เช่น เด็กภาคเหนือ จะนำมะม่วงขนาดเล็กที่กินไม่ได้ มาร้อยเชือกแล้วใส่เดือย นำมาใช้ตีกันเรียกว่า เล่นไก่มะม่วง หรือนำเอาไม้เล็ก ๆ มาเล่นกับลูกมะเขือ หรือมะนาว เรียกว่า หมากเก็บ ไม้หรือไม้แก้งขี้ เล่นเก็บดอกงิ้ว ซึ่งคนเล่นจะรอให้ดอกงิ้วหล่น ใครเห็นก่อนก็ร้อง “อิ๊บ” มีสิทธิ์ได้ดอกงิ้วดอกนั้นไปร้อยใส่เถาวัลย์ ใครได้มากที่สุดก็ชนะ เล่นบ่าขี้เบ้าทรายก็ใช้ทรายปนดินที่นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ มากลิ้งในร่องซึ่งขุดกันริมตลิ่ง แม่น้ำนั่นเอง ของเล่นที่ทำกันก็เช่น |
·
กล้องกบ ใช้ลำไม้ไผ่มีรูกลวงเล็ก
ๆ และไม้แกนซึ่งเหลาพอดีกับรูไม้
เอาใบหญ้าขัด (ขัดมอน) นั้นเป็นก้อนยัดลงไปในรูกระบอก เอาแกนแยงจนสุดลำแล้ว ใส่ก้อนหญ้าอีกก้อน เอาแกนแยงเข้าไปอีกหญ้าก้อนแรกก็จะหลุดออกพร้อมกับ เสียงดังโพละก้อนหญ้านี้อาจใช้ลูกหนามคัดเค้า หรือมะกรูดลูกเล็กแทนได้ |
·
ลูกโป่งยางละหุ่ง
ใช้ยางที่กรีดจากต้นละหุ่งหรือจากการเด็ดใบ หาอะไร
รองน้ำยางไว้ แล้วเอาดอกหญ้าขดเป็นวงจุ่มน้ำยางให้ติดขึ้นมา ค่อย ๆ เป่าตรง กลางบ่วงดอกหญ้า ยางละหุ่งจะยืดและหลุดเป็นลูกโป่งสีรุ้งแวววาว ลอยไปได้ไกลๆ แล้วไม่แตกง่ายด้วย |
ของเล่นเด็กภาคอีสาน
เล่นข้าวเหนียวติดมือ โดยเอาข้าวเหนียวมาปั้นจนได้ก้อน
เท่าหัวแม่มือ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายเริ่มเล่นส่งข้าวเหนียวต่อ ๆ กันโดยใช้มือ ประกบจนครบทุกคนแล้วให้อีกฝ่ายทายว่าข้าวเหนียวอยู่ในมือใคร |
·
ดึงครกดึงสาก เอาเชือกมาพันครกตำข้าว
ปลายเชือก 2 ข้างผู้ไว้กลาง
ด้ามสาก แต่ละข้างมีผู้ถือสาก 4 คน แล้วออกแรงดึงพร้อม ๆ กัน ฝ่ายใดร่นมา ติดครกถือว่าแพ้ |
·
แมวย่องเหยาะ
ใช้ก้านมะพร้าวหรือก้านตาลเหลาให้เป็นเส้นเล็ก ๆ
เอา
มาหักแล้วต่อเป็นรูปแมวย่องเหยาะ (ดังรูป) แล้วให้ผู้เล่นฝ่ายแรกเริ่มเล่นโดย ใช้มือจับส่วนใดส่วนหนึ่งของแมว โดยไม่ให้อีกฝ่ายเห็น แล้วให้อีกฝ่ายทาย ว่าจับตรงไหน ก่อนทายจะมีคนบอกใบ้ให้ เช่น ถ้าจับตรงหัวก็แกล้งเอามือ เกาหัว ถ้าทายผิด 3 ครั้ง ก็แพ้ไป |
·
เล่นหมากพลู นำหมาก ปูน แก่นคูน
ยาเส้น มาตั้งข้างหน้าผู้เล่นเป็นกอง ๆ
ให้ผู้เล่นคนแรกส่ายมือเหนือสิ่งของที่กองไว้เร็ว ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบอกชื่อสิ่งของ 10 อย่าง คนส่ายมือก็ตะครุบของสิ่งนั้นทันทีตะครุบผิด ก็ถูกทำโทษโดนเขกเข่า |
ของเล่นของเด็กภาคใต้
ทางภาคใต้ของธรรมชาติที่เด็กนำมาเล่นกันมากคือ
มะพร้าวลูกยาง (พารา) และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ซึ่งหาง่ายมีทุกจังหวัด |
·
ของเล่นจากมะพร้าว ได้แก่
ชนควายพร็อกพร้าว อุปกรณ์การเล่นคือควาย
พร็อกพร้าว โดยใช้เปลือกมะพร้าวทำลำตัว กะลามะพร้าวทำเขา และเม็ดมะกล่ำดำ ทำตา ทำเสร็จแล้วจะได้รูปแบบนี้คนเล่นจะทำควายพร็อกพร้าวมาคนละตัว แล้วมางัดกัน โดยใช้มือจับลำตัวควายหันหน้าคว่ำลงให้เขาทาบกับพื้น งัดไปงัดมา ของใครหักคนนั้นก็แพ้ |
·
ถีบลูกพร้าว
ใช้มะพร้าวแก่จัดไม่ปอกเปลือก 1 ผล ผู้เล่นแบ่งเป็นสองกลุ่ม
จับไม้สั้นไม้ยาวหรือใช้วิธี “ชันชี” เพื่อหากลุ่มผู้ถีบผลมะพร้าวกลุ่มแรก เมื่อเริ่มเล่นให้ทั้งสองกลุ่มยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากันโดยยืนสลับกัน นำผลมะพร้าววางกลางวงวางกันมะพร้าวลงดิน จากนั้นผู้เล่นทั้งหมดจับมือกันให้แน่น ถ้าคนเล่นมี 6 คน 3 คนจะถีบยับผลมะพร้าว อีก 3 คนเป็นหลัก ถ้าฝ่ายถีบมีใคร ล้มก้นแตะพื้นก็แพ้ ให้ฝ่ายเป็นหลักมาถีบแทน |
·
ร่อนใบพร้าว
นำใบมะพร้าวที่ยังติดก้านมาตัดให้ด้านที่มีก้านโตเสมอกัน
ใช้มือฉีกใบมะพร้าวออกให้มีขนาดเท่ากัน วิธีเล่นคือจับใบมะพร้าวชูขึ้นเหนือไหล่ จับส่วนที่เป็นใบซึ่งฉีกออกแล้วขว้างไปสุดแรง ใบมะพร้าวก็จะหลุดออกจากก้าน ใครขว้างได้ไกลที่สุดก็เป็นผู้ชนะ |
·
ของเล่นจากลูกยาง ชักลูกยาง นำลูกยาง
(พารา) มาเจาะเอาเนื้อออก
หมดเจาะรูด้านบนด้านล่างและด้านข้าง ใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วผูกติดกับเชือกด้าย สอดไม้ไผ่เข้าไปในเมล็ดยางทางรูด้านบนหรือด้านล่าง ดึงเชือกด้ายออกมาทางรู ด้านข้าง ติดไม้ไผ่แบน ๆ ทางด้านบน 1 ชิ้น เมื่อจะเล่นหมุนแกนให้เชือกด้ายม้วน เข้าไปอยู่ในลูกยางจนเกือบสุด ดึงปลายเชือกแรง ๆ แล้วปล่อย แกนไม้ไผ่ก็ จะหมุนไปหมุนมา ตามแรงดึง ผู้เล่นต้องดึงและปล่อยกลับอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แกนและไม้ไผ่แบน ๆ ด้านบนกระทบกันของใครไม้ไผ่หลุด คนนั้นก็แพ้ |
·
ตอกเมล็ดยางพารา สถานที่เล่นควรเป็นพื้นไม้หรือซีเมนต์
ผู้เล่นมี 2 คน
จับไม้สั้นไม้ยาวเพื่อหาฝ่ายตั้งและฝ่ายตี ฝ่ายตีจะนำเมล็ดยางของฝ่ายตั้ง ตั้งลงกับพื้น แล้วนำเมล็ดยางของตัวเองวางข้างบนของฝ่ายตั้ง ใช้มือข้างหนึ่งจัดเมล็ดยาง ทั้งสองซ้อนกัน มืออีกขัางกำหรือแบตามถนัดตอกลงบนเมล็ดยางที่ซ้อนอยู่ ถ้าของฝ่ายใดแตก ฝ่ายนั้นก็แพ้ |
·
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เล่นฟัดราว
ต้องมีราวรางบนไม้หลักหรือกะลา
มะพร้าวอย่างในรูป แล้วขีดเส้นเรียกว่า “น้ำ” สำหรับ “ฟัด” หรือขว้างระยะห่าง ไม่ใกล้ไม่ไกลนักแล้วผู้เล่นก็จะตกลงกันว่าจะลงหัวครก (เมล็ดมะม่วงหิมพานต์) คนละกี่ลูก แล้วเอาหัวครกทั้งหมดที่ลงกองกลางมาเรียงบนราว จากนั้นก็ผลัด กันยืนที่เส้น “น้ำ” แล้ว “ฟัด” (ขว้าง) หัวครก เมล็ดไหนตกพื้น คนฟัดก็ได้ไป เล่นจนกว่าจะเบื่อ เมื่อเลิกก็เอา “หัวครก” ที่ได้ใส่กระเป๋ากลับบ้าน หรือจะเผา กันกันตรงนั้นเลยก็ได้ |
คุณค่าของการละเล่นไทย
|
การละเล่นของไทย
เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
พื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ “เล่น” ซึ่งผู้ใหญ่บางคน อาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความ สนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยัง เห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจัง แล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับเอนกอนันต์ ดังจะว่าไปตามหัวข้อ ต่อไปนี้ |
ประโยชน์ทางกาย
|
อันได้จากการออกกำลังทั้งกลางแจ้งและในร่ม
เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เล่น
“จับปูดำ ขยำปูนา” หรือ “โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ” เด็กก็จะได้หัดใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในตัวพร้อมกับทำท่าให้เข้ากับจังหวะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็จะชอบเล่นกลางแจ้งกับ เด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง เช่น ขี่ม้าก้านกล้วย ตาเขย่ง ตีลูกล้อ วิ่งเปี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง ตี่จับ เตย ฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีบทร้องประกอบทำให้สนุกครึกครื้น เข้าไปอีก อย่าง รีรีข้าวสาร โพงพาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง งูกินหาง นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังได้ฝึกความว่องไว ฝึกความสัมพันธ์ของการเก็ง จังหวะแขนเท้า เช่น กาฟักไข่ ได้ฝึกการใช้ทักษะ ทางตาและมือในการเล็งกะระยะ เช่น การเล่นลูกหิน ทอยกอง |
·
ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา
จากการละเล่น
หลายชนิดที่ต้องชิ่งไหวชิงพริบกันระหว่างการต่อสู้ เช่น การเล่นกาฟักไข่ ผู้ขโมย จะหลอกล่อชิงไหวชิงพริบกับเจ้าของไข่ ซึ่งต้องคอยระวัง คาดคะเนไม่ให้ใครมา ขโมยไข่ไปได้ หรือการเล่นแนดบกของทางเหนือ ผู้เล่นจะรู้สึกสนุกกับ การล่อหลอก แนดให้มาแตะ แล้วตัวเองต้องไวพอที่จะวิ่งเข้าวงก่อน การเล่นเตยหรือ ต่อล่อง คนล่องก็จะหลอกล่อให้ผู้กั้นเผลอ เพื่อให้ฝ่ายตนไปได้และผู้กั้นก็ต้องคอยสังเกต ให้ดีว่า ใครจะเป็นคนผ่านไป |
·
ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา การละเล่นทุกอย่างมีกฏในตัว
ของมันเอง ซึ่งก็มาจากพวกเด็กนั่นเองเป็นคนช่วยกันกำหนดตกลงกันขึ้นมา การเล่นจึงดำเนินไปได้ โดยจะเห็นได้จากก่อนเล่นก็จะมีการจับไม้สั้นไม้ยาว เป่ายิงฉุบ จุ่มจะหลี้ (ของทางเหนือ คล้าย ๆ จ่อจีเจี๊ยบ) หรือ ฉู่ฉี้ (เป่ายิงฉุบของทางภาคใต้ มีปืน น้ำ ก้อนอิฐ แก้ว (น้ำ) หากใครไม่ทำตามกติกาก็จะเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นการฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นโดยปริยาย |
·
ฝึกความอดทน เช่น
ขี่ม้าส่งเมือง ผู้แพ้จะต้องถูกขี่หลังไปไหน ๆ ก็ได้
บางคนตัวเล็กถูกคนตัวใหญ่ขี่ก็ต้องยอม ถ้าไม่ทนก็เล่นกันไม่ได้ หรือเสือข้ามห้วย คนเป็น “ห้วย” ต้องอดทนทำท่าหลายอย่างให้ผู้เป็น “เสือ” ข้าม บางครั้งต้องเป็น “ห้วย” อยู่นาน เพราะไม่มีเสือตัวใดตาย หรือหา “เสือ” ข้ามได้หมด “ห้วย” ก็ถูกลงโทษ ถูก “เสือ” หามไปทิ้งแล้ววิ่งหนี “ห้วย” |
·
ฝึกความสามัคคีในคณะ อย่างเช่น
ตี่จับในขณะที่ผู้เล่นของฝ่ายหนึ่ง
เข้าไป “ตี่” เพื่อให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจะได้วิ่งกลับฝ่ายของตน โดยไม่ถูกจับเป็นเชลยนั้น ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องพร้อมใจกันพยายามจับผู้เข้ามา “ตี่” ไว้อย่าให้หลุดมือ เพราะถ้าหลุดกลับไปฝ่ายของตน ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องกลับไป เป็นเชลยทั้งกลุ่ม หรืออย่างชักคะเย่อ ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพร้อมใจกันออกแรงกันสุดฤทธิ์ สุดเดช เพื่อให้เครื่องหมายที่กึ่งกลางของเชือกเข้าไปอยู่ฝ่ายตน |
·
ฝึกความซื่อสัตย์ ผู้เล่นเป็นคนหาต้องผิดตาให้มิดในขณะที่คนอื่น
ๆ
วิ่งไปซ่อน อย่างคำร้องประกอบการเล่นชนิดนี้ว่า “ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียว” หรือหมากเก็บอีตัก ถ้ามือของผู้เล่นไปแตะถูก ก้อนหินหรือเม็ดผลไม้ ก็ต้องยอม “ตาย” ให้คนอื่นเล่นต่อ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม |
·
ฝึกความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกติกาไม่ว่าจะเป็นการเล่นอะไร ถือว่า
เป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้เล่น เช่น เล่นหมุนนาฬิกา ผู้เล่นทุกคนต้องจับ มือกันให้แน่นแล้วหงายตัว เอาเท้ายันกัน คนยืนสลับต้องจับมือคนหนึ่งให้แน่น ๆ แล้ววิ่งรอบ ๆ เป็นวงกลมเหมือนนาฬิกา ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบจับมือหรือยันเท้า ให้มั่น จึงจะหมุนได้สนุก |
การละเล่นของเด็กไทยสะท้อนความเป็นไทย
|
·
ภาพของเด็กไทยสมัยก่อน จากบทร้องล้อเลียน
“ผมจุก คลุกน้ำปลา
เป็นขี้หมา นั่งไหว้ กระจ๊องหง่อง” หรือ “ผมแกละ กระแดะใส่เกือก ตกน้ำตาเหลือก ใส่เกือกข้างเดียว” ก็ทำให้เห็นภาพเด็กสมัยโบราณที่ส่วนใหญ่ไว้ผมจุก ผมแกละกัน ทั้งเมือง |
·
ความเป็นอยู่ของผู้ใหญ่ จากบทร้องจ้ำจี้
“สาวสาวหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด” ทำให้นึกภาพของบ้านเรือนสมัยโบราณซึ่งมักอยู่กันริมน้ำ อาบน้ำกัน ที่ท่า สัญจรกันด้วยเรือเป็นส่วนใหญ่ หรือการละเล่นชนควายด้วยศรีษะ ชนควาย พร็อกพร้าว เป็นการเลียนแบบการชนควายชนวัวซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทางภาคใต้ ส่วนทางภาคอีสานก็มีการละเล่นดึงครกดึงสาก ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักในการทำ มาหากินเพื่อดำรงชีพของชาวนา เป็นต้น |
·
สะท้อนการทำมาหากินของคนไทย มี
การละเล่นและบทร้องประกอบ
การละเล่นหลายอย่างที่กล่าวถึงข้าววัวควายที่ช่วย ไถนาและการทำนาอันเป็นอาชีพ หลักของคนไทยตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน อย่าง รีรีข้าวสาร การเล่นขโมยลักควาย (ทางใต้) นอกจากทำนาแล้วยังมีการค้าขายจับปลา เช่น เล่นขายแตงโมซึ่งมีบท เจรจา ผู้เล่นสมมติ เป็นแตงโม มีผู้มาซื้อและพูดกับเจ้าของ โพงพาง มีบทร้อง ที่ว่า”ปลาตาบอดเข้าอดโพงพาง” หรือผีสุ่ม กล่าวถึงการจับปลาโดยใช้สุ่ม |
·
ความเชื่อ การละเล่นบางอย่างสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทยใน
เรื่องไสยศาสตร์ เช่นการละเล่นที่มีการเชิญคนทรงอย่าง แม่ศรี ลิงลม ย่าด้ง เป็นต้น ทางภาคอีสานจะมีการละเล่นที่สะท้อนความเชื่อหลายอย่างเช่น เล่นนางดงแล้ว จะขอฝนได้สำเร็จ เล่นผีกินเทียนแสดงความเชื่อเรื่องผี มีทั้งกลัวและอยากลอง ผสมกัน หรือผีเข้าขวด ซึ่งมีทั้งภาคอีสานและทางภาคใต้ ทางอีสานก็มีเล่นแม่นาค พระโขนง และมะล๊อกก๊อกแก๊ก ซึ่งเป็นบทโต้ตอบระห่างผู้เล่นที่สมมุติ เป็นผีกับ เด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่งไล่จับเด็กเป็นผีกับเด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่ง ไล่จับเด็เป็นที่น่าสนุกสนานและ ตื่นเต้นด้วยความกลัวผีไปพร้อม ๆ กัน |
·
ค่านิยม ในเรื่องของมารยาท
ถือว่าคนมีมารยาทเป็นคนมีบุญ คนที่มารยาท
ทรามเป็นคนอาภัพ ดังในคำร้องจ้ำจี้ว่า “จ้ำจี้เม็ดขนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ ใครผลุบผลับ ได้กินกะลา (หรือกินรางหมาเน่า)” เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว มีบทร้องว่าลูกเขยต้อง กตัญญูต่อแม่ยาย ในบทเล่นจ้ำจี้อีกบทว่า “จ้ำจี้ดอกเข็ม มาเล็มดอกหมาก เป็นครกเป็นสาก ให้แม่ยายตำข้าว เป็นน้ำเต้า ให้แม่ยายเลียงชด เป็นชะมด ให้แม่ยายฝนทา ฯลฯ ค่านิยมที่แม่มีลูกชายก็พาไปบวช ถือเป็นกุศลแก่คนเป็นแม่ว่า “จ้ำจี้จ้ำจวด พาลูกไปบวชถึงวัดถึงวา ฯลฯ การยกย่องขุนนางว่าเป็นผู้ได้ผลประโยชน์กว่า ว่า “ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง มาเล่นซักส้าว มือใครยาว สาวได้สาวเอา มือใครสั้น เอาเถาวัลย์ต่อเข้า” แหล่งที่มา |
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
การละเล่นของไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น